Thursday, March 23, 2006

Getty Center (๒.๕)

Getty Center (๒.๕) : เมฆหมอกแห่งความไม่แน่นอน กับปัญหาการเมือง ภายในราชสำนักแห่งศิลป์

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือน มกราคม ปี 2006

ต้องขอกราบขออภัยท่านผู้อ่านทุกท่านที่หยุดเรื่อง Getty Center ไปถึง 3 เดือน เพราะเนื่องจากว่าการที่ตัวผู้เขียนได้ไปท่องเที่ยวตามที่ต่างๆ และได้เห็นในสิ่งที่น่าสนใจ ก็พยายามอยากจะสื่อไปถึงผู้อ่านในทันที เพราะมีโอกาสเพียงแค่เดือนละครั้งเท่านั้น พอเวลาที่ได้ไปเที่ยวมาหลายๆ ที่ก็เลยทบไปทบมา กลายเป็นผลัก หัวข้อ Getty Center ที่พยายามจะเขียนให้ครบต่อเนื่องกัน มีอันต้องเลื่อนออกไปพักหนึ่ง

ในตอนแรกนั้นผู้เขียนวางแผนไว้ว่าจะเขียน Getty ออกเป็น 5 ตอน อันได้แก่ (1) แนะนำที่มาและลักษณะขององค์กร (2) ประวัติและความร่วมมือร่วมใจในการก่อสร้างโครงการ (3) งานศิลปะในพิพิธภัณฑ์ (4) การออกแบบสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรมภายในพิพิธภัณฑ์และ (5) บทสรุปของการเรียนรู้และเนื้อหาที่น่าจะเป็นประโยชน์กับการจัดการและออกแบบพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ซึ่ง ณ ฉบับนี้ ผู้เขียนควรจะต้องเขียน ส่วนที่ 3 ได้แก่เรื่องงานศิลปะภายใน Getty แต่แล้ว เมื่อเร็วๆนี้ผู้เขียนก็ได้รับทราบข่าวสารใหม่ๆ เกี่ยวกับปัญหาที่ค่อนข้างจะวิกฤติภายในระบบการบริหารจัดการองค์กร Getty ทั้งระบบโดย จริงๆ เรื่องก็เริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่เพิ่งจะมาบานปลายเอาเมื่อเร็วๆ นี้ โดยที่ทั้งหมดมีสาเหตุที่ค่อยๆ สะสมมานานตั้งแต่กลางปี 2001

ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องขอเขียนบทที่ 2.5 ขึ้นมาแทรกกลางเพื่อเล่าเรื่องที่น่าสนใจนี้ให้ผู้อ่านได้ทราบ ว่าเกิดอะไรขึ้นข้างหลังกำแพงปราสาทแห่งศิลปะแห่งนี้

เรื่องของเรื่องนั้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณปลายเดือนตุลาคมปี 2004 ซึ่งเป็นวันที่ Deborah Gribbon ซึ่งเป็น Museum Director ของ Getty ได้ตัดสินใจลาออกอย่างเป็นทางการ

เนื่องจากว่าเธอเป็นคนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับนับถือในวงการพิพิธภัณฑ์ศิลปะเป็นอย่างมาก การลาออกแบบกระทันหันของเธอจึงเป็นข่าวใหญ่ และทำให้สายตาทุกๆ คู่ของผู้ที่สนใจ หันไปมองเป็นทางเดียวกัน เนื่องจากว่าถ้าจะิคิดกันในแง่สามัญสำนึกนั้น การได้ตำแหน่งหัวหน้าพิพิธภัณฑ์แห่ง Getty นั้นน่าจะเป็นจุดสูงสุดของอาชีพ นักบริหารพิพิธภัณฑ์แล้ว นอกจากนี้ยังไม่นับว่า Getty มีเงินทุนเป็นจำนวนมากที่สุดในโลก ประมาณ 5000 ล้านดอลลาร์ ที่น่าจะสามารถนำไปซื้อหางานศิลปะชั้นหนึ่งและให้ทุนในการค้นคว้าวิจัยได้มากมาย แล้วทำไม Deborah Gribbon จึงได้ทิ้งงานนี้เสียทั้งๆที่อยู่ในตำแหน่งมานานถึง 20 ปี

เมื่อเกิดหินหล่นในน้ำที่นิ่งสงบก็ย่อมเกิดคลื่น และตามประสาของนักข่าวทั่วโลก เมื่อมีเรื่องที่น่าสนใจเช่นนี้ จึงเริ่มมีการ “ขุด”

การขุดก็คือการหาข้อมูลย้อนหลังไปตั้งแต่มีการตั้งองค์กรว่า มันเคยมีอะไรแปลกๆ เกิดขึ้นบ้าง ซึ่งยิ่งค้น ก็ยิ่งเจอ และทำให้สาธารณะชนเห็นว่า องค์กรพิพิธภํณฑ์อันดับหนึ่งของโลก ที่ตั้งอยู่บนเขาเสมือนจะเป็น Olympus ของโลกศิลปะที่ควรจะมีแต่ความสุข ความสงบ ความยั้งยืนไพบูลย์ พ้นไปจากความสับสนวุ่นวายและการแก่งแย่งชิงดีของผู้คนบนโลกเบื้องล่างนั้น อาจจะเป็นเพียงภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อปิดบังความเน่าเฟะภายในที่เกิดขึ้นมาอย่างช้าๆ แต่เกิดอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานแล้วก็ได้ การลาออกของ Deborah Gribbon นั้นถ้าเปรียบเทียบกันไปก็เหมือนกับ ความหลุดล่อนชิ้นแรก ของวัสดุตกแต่ง ที่ทำให้ เห็นเนื่้อแท้ภายใน และจะมีการหลุดทีละนิดๆ อย่างต่อเนื่อง

ข่าวต่อมา จากการขุดของนักข่าว ที่ทำให้สาธารณะชน ตกใจแทบสิ้นสติก็คือ Getty เคยถูกหลอกให้ซื้องานศิลปะปลอมมาก่อน

เรื่องของเรื่องก็คือ นาย Nicholas Turner ที่ทาง พิพิธภัณฑ์ได้ว่าจ้างให้มาเป็น Curator (หรือผู้ดูแลงานศิลปะ ในกรณีนี้ เป็นผู้ที่ดูเรื่องคุณภาพของงานศิลปะและจัดแสดงอย่างเดียว ไ่ม่มีอำนาจในการบริหาร) ตั้งแต่ปี 1993 แต่จริงๆแล้ว เขาได้ค้นพบว่า งานศิลปะใน Getty นั้น มีบางชิ้นที่เป็นของปลอม ชิ้นแรกที่เขาได้ค้นพบคือ งาน sketch รูป ร่างกายของสตรี โดย Raphael และเขาได้บอกให้ George Golden ที่เป็น Curator เก่าทราบทันที และหลังจากน้นเขาได้ค้นพบอีก 5 งาน โดยที่เขาสามารถบอกได้ด้วยว่า 4 งานในที่นี้ เป็นการปลอมโดยคนๆ เดียวกัน ซึ่งน่าจะเป็น Eric Habborn นักปลอมภาพแห่งศตวรรษ (เรื่องของคนๆ นี้นันเหมือนหนัง Hollywood ดีๆ เรื่องหนึ่ง ภาพที่เขาปลอมนั้น ตบตาผู้เชี่ยวชาญภาพเขียนต่างๆ ทั่วโลกจนสะเืทือนทั้งวงการมาแล้ว กลายเป็นคนมีชื่อเสียงไป ถึงขนาดมีนิทรรศการรวมภาพปลอมที่เขาเขียนขึ้นจัดขึ้นมา และมีหนังสือเกี่ยวกับประวัติของเขาหลายเล่ม ไว้จะนำเรื่องราวของเขามาเล่าให้ฟังในโอกาสหน้า - ผู้เขียน) เมื่อเรื่องไปถึงผู้บริหารก็มีการพิสูจน์หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ทันที และผลที่ออกมาจากทางห้องแลบ ก็คือ มีการค้นพบ Titanium จำนวนมากถูกใช้อยู่บนรูป ซึ่งเป็นวัสดูที่ถูกคิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่บนรูปเขียนอายุ 400 ปี

หลังจากนั้น John Walsh ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ และ Deborah Gribbon ที่เป็นตำแหน่งรองผู้อำนวยการ (ต่อมา Gribbon ได้เลื่อนไปเป็น ผู้อำนวยการและ Walsh ได้มาเป็นที่ปรึกษาระดับสูง) ก็ได้มาถึงที่ห้องทำงานของ Turnur และได้อ่านรายงานการพิสูจน์ด้วยตนเอง และก็ต้องยอมรับกับผลพิสูจน์หลักฐาน โดย Turner นั้นขออนุญาติทั้งสองในการที่จะนำเรื่องเข้าที่ประชุมของ Trustee (คณะกรรมการที่สรรหาจากบุคคลภายนอก มักจะเป็นคนที่มีชื่อเสียงในสาขาต่างๆ ทำหน้าที่หาทุนเข้าพิพิธภัณฑ์) เพื่อให้ได้ทราบโดยทั่วกัน แต่ Turner กลับได้ัรับคำสั่งให้ปิดปากให้สนิืท

ซึ่งจริงๆ แล้วปัญหา ก็ซับซ้อนขึ้นเืนื่องจาก ถึงแม้ว่า Turner จะเป็นนักจับภาพปลอมที่มีชื่อเสียงมากในวงการ ศิลปะ (บางคนถึงขนาดยกย่องให้เป็นอันดับ 1 ของโลก) แต่เขาก็เป็นคนที่มีศัตรุมาก เพราะเป็นคนที่พูดจารุนแรง ไม่เกรงกลัวใคร ทำให้ในภาษาไทยอาจจะเีรียกได้ว่า “ต้นทุนทางสังคมต่ำ” (อันนี้มาจากคุณชูวิทย์) พอกลายเป็นคนที่ คนไ่ม่ค่อยชอบด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ พูดอะไรออกมาก็ดูจะเป็นที่สงสัยว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า ถึงแม้ว่าจะีมีการพิสูจน์หลักฐานเป็นเรื่องเป็นราวแล้วก็ตาม แล้วตัว Turner เองก็ทำตัวให้เรื่องยุ่งขึ้นไปอีกโดยการไปมีเมียน้อยในที่ทำงานซึ่งเป็นผู้ช่วยส่วนตัว ซึ่งหลังจากนั้นพยายามจะเลิก แต่เมียน้อยไม่ยอม เธอจึงได้ฟ้องร้อง Getty Center ในข้อหา Sexual Harrasment (แปลตรงตัวเป็นว่าคุกคามทางเพศ ซึ่งเกิดขึ้นมากในสังคมไทยเช่นกัน แต่ในอเมริกานั้น มีหลายกรณีที่ถูกใช้ในทางที่ผิดกลายไปเป็นเครื่องมือของคนที่ต้องการ “เอาคืน” กับการที่ถูกสลัดทิ้ง มักจะเกิดในกรณีที่ผู้บังคับบัญชา มีสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา แล้วฝ่ายที่อยู่เหนือกว่าจะขอเลิก ไ่ม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม โดยฝ่ายที่อยู่ต่ำกว่าที่ไม่อยากเลิก แต่โดนที่ทิ้งมักจะฟ้องในกรณีนี้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ถ้าเป็นสุภาพสตรี จะชนะคดี เพราะคนมักจะเห็นใจเนื่องจากผู้หญิงมักเป็นฝ่ายเสียเหายเสมอในคดีทำนองนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงผิดเสมอนะครับ - ผู้เขียน) สิ่งที่เกิดขึ้นก็ทำให้ทั้ง Getty และ Turner มัวหมอง และมีการตกลงจ่ายเงินกันลับๆ นอกศาล

หลังจากนั้น ความสัมพันธ์ระหว่าง Getty กับ Turner ก็ต่ำลงทุกๆ ขณะ โดยที่ Turner ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวในเวลาต่อมาว่า เขาถูกกดดันอย่างมากจาก Getty ทั้งการตัดงบในการซื้องานศิลปะ และการจำกัดพื้นที่แสดงงาน โดย Turner เห็นว่าเขาถุกบีบให้ลาออกโดยทางอ้อม และพยายามที่จะทำลายชื่อเสียงของเขาโดยการ ทำให้เรื่่องการค้นพบภาพปลอมของเขาเป็นเรื่องไร้สาระและเป็นเรื่องผิดพลาด

ในที่สุดในเดือนธันวาคม ปี 1997 (โดยอาคาร Museum แห่งใหม่บนเขา ที่ออกแบบโดย Richard Meier เพิ่งเสร็จไม่นาน) Turner ก็ทำการฟ้องร้อง Getty กลายเป็นคดีใหญ่อีก ในข้อหาทำลายชื่อเสียง (Defamation) โดย Getty ก็ได้ทำการตกลงกันเงียบๆ นอกศาลอีกครั้ง โดยในเนื้อหาของข้อตกลงคือ Turner จะได้รับเงินจำนวนหนึ่ง และต้องลาออกจากการเป็น Curator และจะต้องเซ็นยินยอมที่จะไม่นำเนื้อหาเกี่ยวกับข้อตกลงเหล่านี้หรือเรื่องราวภายในองค์กรไปเผยแพร่ ส่วน Turner ก็เรียกร้องให้ ทาง Museum จัดพิมพ์ฺรายงานเกี่ยวกับภาพปลอมของเขาออกสู่สาธารณชน โดยทาง พิพิธภัณฑ์ก็ตอบตกลง แต่ในที่สุด จนแล้วจนรอด ก็ไม่มีรายงานฉบับนี้ออกมา โดย Turnerก็ได้พยายามติดต่อไป ตลอดจนในที่สุดทนายความของ Getty ก็ได้ตอบกลับมาว่าทางพิพิธภัณฑ์ไม่มีทางออกกับปัญหานี้ เพราะถ้ารายงานนี้ถูกพิมพฺ์ออกไปจริงๆ ก็คงจะโดน George Golden ที่เป็น Curator เก่าของพิพิธภัณฑ์ ฟ้องร้องในข้อหาเดียวกับ Turner คือทำให้เสีื่อมเสียชื่อเสียง เนื่องจากว่าเขาเป็นคนที่สั่งซื้อภาพเหล่านี้มาเองในระหว่างที่เขาอยู่ในตำแหน่ง ซึ่ง George Golden คงต้องฟ้องอย่างไม่ีมีทางเลือกเนื่องจาก ในวงการนี้ ความน่าเชื่อถือสำคัญที่สุด ถ้ามีคนกล่าวหาว่าเขาสั่งซื้อภาพปลอม เขาต้องปฎิเสธจนตัวตาย ดังนั้นทาง Getty ตัดสินใจไม่พิมพ์รายงานของ Turner (ซึ่งจริงๆแล้วเป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น เนื่องจาก ถ้ามีการพิสุจน์กันจริงๆ ว่ารูปพวกนี้เป็นรูปปลอมอย่างที่ Turner เขียนไว้ คำฟ้องของ Golden ต้องตกไป แต่จริงๆแล้ว Getty น่าจะมีจุดประสงค์ที่จะฝังเรื่องนี้ไว้ตลอดกาลจากพื้นผิวโลกมากกว่า ที่จะให้กลายเป็นข่าวใหญ่ที่ทำลายชื่อเสียงขององค์กร - ผู้เขียน) แต่ Turner ซึ่งโกรธถึงที่สุดก็ไม่ยอมหยุด โดยทำการติดต่อคนที่รู้จักและผู้เชียวชาญในวงการหลายๆ คนทั้งจากมหาวิทยาลัย Harvard ไปจนถึง Cambridge ให้หันมาดูและติดต่อไปเพื่อขอทำการพิสูจน์ที่ Getty ซึ่งถึงแ้ม้ Turner จะมีเพื่อนน้อย แต่คนในวงการที่เชื่อ “ตา” ของเขา มีไม่น้อยเลย

ในที่สุด จากการสนับสนุนของนักวิชาการจำนวนมาก Turner ก็ทำการฟ้องร้อง Getty อีกครั้งในปี 2001 โดยในครั้งนี้คือข้อหาฉ้อโกง (Fraud) โดยที่ Turner บอกว่า สิทธิในการจัดพิมพ์รายงานเกี่ยวกับภาพปลอมนั้น น่าจะเป็นของเขาเนื่องจาก Getty ผิดสัญญาที่จะจัดพิมพ์ แต่ Getty ก็ตอบโต้โดยการให้ข่าวกับสื่อว่า Turner มีจุดประสงค์เพียงเรื่องเดียวคือ เงิน และกล่าวต่อไปอีกว่า การค้นพบ Titanium โดยทางห้องแลบของพิพิธภัณฑ์ในปี 1994 นั้น เป็นความผิดพลาด ทางพิพิธภัณฑ์ได้ทำการตรวจสอบใหม่ และืยืนยันแล้วว่าภาพทั้ง 6 ภาพนั้นเป็นของจริง แ่ต่ก็ปฎิเสธที่จะให้รายละเอียดว่า วิธีการตรวจสอบใหม่นั้น คืออะไร

และเรื่องทั้งหลายก็ยังคงคาราคาซังต่อไป แต่ในขณะเดียวกันก็มีงานศิลปะชิ้นอื่นๆ ที่ได้รับการต่อว่าจากผู้เขียวชาญคนอื่นๆ ที่ Getty ต้องยอมที่จะลดราวาศอกบ้างเช่น รูปปั้น หินอ่อนของกรีกรูปเด็กผู้ชาญ ที่เรียกว่า Kouros (มีหลายตัว ตั้งอยู่หลายที่ในโลก) ที่ Getty ซื้อมาเป็นล้านดอลลาร์นั้น ทุกวันนี้ก็ต้องยอมติดป้ายที่หน้ารูปปั้นว่า “Circa 530 B.C or Modern Forgery” (จะยอมรับผิดเต็มๆ ก็ไม่กล้าอีก - ผู้เขียน)

เรื่องของ Turner นี้ก็ทำให้ Getty บาดเจ็บสาหัสพอสมควร แต่ก็ไม่ได้ออกมาเป็นเรื่องราวใหญ่โตเท่าไหร่จนกระทั่งเมื่อ Deborah Gribbon ลาออกไป และเืมื่อเป็นเช่นนี้ นักข่าวที่เจอเรื่องดีๆ ขนาดนี้ มีหรือจะหยุดขุดค้น?

เรื่องต่อมาที่ขุดเจอ คือ เรื่องการบริหารภายใน ที่นำโดย Berry Munitz ประธานกรรมการของ Getty Trust (ถ้าโดยการบริหารคือคนที่ใหญ่ที่สุดเพราะเป็นผู้อนุมัติงบประมาณ)

Berry Munitz เป็นคนที่มีประวัติที่ไม่ค่อยจะสะอาดสะอ้านเท่าไหร่มาตั้งแต่แรก เป็นคนที่เคยเป็นประธานบริษัทเงินกู้ที่เจ๊งไม่เป็นท่าในรัฐ Texas และเคยเป็น Chancellor ที่ California State University ต่อมาได้รับเชิญจาก John Walsh อดีต ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ให้มาดำรงตำแหน่ง ประธาน Getty Trust โดยที่ไม่มีความรู้ในเรื่อง Art หรือมีประสบการณ์ในการบริหารองค์กรทางวัฒนธรรมใดๆ มาก่อน

พอเขามาถึงก็ทำการปรับโครงสร้างการบริหารขนาดใหญ่ โดยการรวบอำนาจอื่นๆ เพิ่มเติมเ้ข้ามาอยู่ในตัวเอง เช่นอำนาจการจัดจ้าง ซึ่งเป็นที่รู้ๆกันว่า มี “เด็ก” ที่เขาจ้างเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมากที่ทำงานไม่ได้ความ แต่ก็มีตำแหน่งสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่ง คนที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของเขา ที่ทนได้ก็ทนไป ที่ทนไม่ได้ก็ลาออก แ่ต่จนกระทั่งถึงตอนที่ Deborah Gribbon ลาออกนั่นเอง คนทั่วไปถึงได้รู้ว่า Getty ได้เสียบุคลากรที่มีความสามารถไปเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ Munitz เข้ามาดำรงตำแหน่ง

แต่เรื่องก็คงจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะนี่ก็เป็นเพียงการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นได้กับองค์กรทุกๆ แห่ง แต่สิ่งที่ทำให้เกิดเรื่องก็คือ การที่มีมือดี ส่งรายงานการใช้จ่ายส่วนตัวของ Barry Munitz กับภรรยา ไปให้กับ วุฒิสภา Charles Grassley แห่งรัฐ Iowa ที่นำมากล่าวออกสื่อ ว่านาย Barry Munitz ผู้นี้กำลังใช้เงินขององค์กรไม่หวังผลกำไร ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเพื่อประโยชน์ของการทำงานให้สังคม มาใช้ในการส่วนตัวอย่างไร้ยางอาย

ค่าใช้จ่ายส่วนตัวเหล่านี้ ตัวอย่างก็คือ รถประจำตำแหน่ง Porche Cyanne ราคาประมาณ 72,000 ดอลลาร์ และแม้ว่าจะมีนโยบายภายในองค์กรให้เจ้าหน้าที่นั่งเครืื่่องบินไม่เกิน Businss Class แต่ Munitz ก็นั่ง First Class ประมาณ 10 ครั้งต่อปี และองค์กรก็ต้องจ่ายให้กับ ที่นั่งของภรรยาของเขาด้วย (แน่นอนว่า First Class เหมือนกัน) นอกจากนี้ยังมีค่าเช่า Villa ในอิตาลีราคา 20,000 ดอลลาร์ ที่เขาไปอยู่กับภรรยาในวันหยุด รวมทั้ง 7,000 ดอลลาร์ ค่าล่องเรื่อในโครเอเชีย และ 29,000 ของทริปที่ไป Australia

ทั้งหมดนี้ไม่นับรายได้ประจำประมาณปีละ 1 ล้านเหรียญของเขา

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเกี่ยวกับการขายที่ดินของ Getty ให้กับ มหาเศรษฐีที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยที่ไม่ได้ผ่านบอร์ดของสมาคม แม้แต่น้อย ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดประมาณ 700,000 ดอลลาร์

เรื่องทั้งหมดพอออกจากปาก วุฒิสภาก็ทำให้ อัยการแห่งนคร Los Angeles เปิดการสอบสวนเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินในองค์กร Getty ทันที โดยได้แถลงข่าวไปเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา และในขณะนี้ก็อยู่ในช่วงการสอบสวน (Article นี้เขียนเมื่อเดือน กันยายน ในระหว่างที่ผู้อ่านได้อ่านนี้ การสอบสวนอาจจะมีความคืบหน้าไปมากแล้ว)

พร้อมกันนั้นก็มีข่าวที่ไม่สู้ดีมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ซึ่งไม่ค่อยเด่นดังในอเมริกา แต่ดังสนั่นหวันไหวในฝั่งยุโรป ได้แก่การฟ้องร้องของสำนักงานอัยการสูงสุดของประเทศ อิตาลีต่อ Marion True ซึ่งเป็น Curator ที่สำัคัญคนหนึ่งของ Getty ทำหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของ Antiquities (ของเก่าพวก furniture เป็นหลัก) ในข้อหารับซื้อของโจร โดยคำฟ้องนั่นระบุว่า เธอ ได้ทำการซื้อของเก่าจากกลุ่มโจรที่มีการหนุนหลังโดยมาเฟียในประเทศอิตาลี โดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบการฟอกเงินของกลุ่มมาเฟีย โดยการซื้อขายทั้งหมดนั้นมีหลายรายการมากตั้งแต่ ประมาณกลางช่วง 1980s จนถึงปี 1998 ถ้าเธอถูกตัดสินว่ามีความผิด เธอาจจะถูกจำคุกได้ถึง 10 ปี โดยทางอัยการอิตาลีได้แถลงข่าวว่า พิพิธภัณฑ์ทุกแห่งในโลกจะต้องแสดงความรับผิดชอบในการตรวจสอบที่มาของงานศิลปะที่ท่านได้รับมา โดยจะต้องได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย คดีจะเข้าสู่ศาลในเดือน พฤศจิกานยันนี้

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางมรสุมและเรื่องอื้อฉาวทั้งหลายที่เกิดขึ้น ที่ Getty Center บนทางด่วน 405 ก็ยังมีคนเข้ามานับหมื่นคนต่อวัน และทุกๆคนก็ยังรู้สึกประทับใจกับทุกๆมุมของโครงการ เหมือนเดิมนับตั้งแต่วันที่เปิดทำการเมื่อปี 1997
เมฆหมอกแห่งความไม่แน่นอนและความขัดแย้งภายใน ที่นักท่องเที่ยวและผู้ที่เ้ข้าชมพิพิธภัณฑ์ ไ่ม่มีทางได้เห็นนั้น ก็จะยังคงเป็นปัญหาที่จะต้องได้รับการแก้ไขต่อๆ ไป

ความพยายามล่าสุดขององค์กรที่จะกู้ชื่อคืนมาคือการ ว่าจ้าง Michael Brand แห่ง Virginia Art Museum ที่เป็น ดาวเด่นของสังคมพิพิธภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกาว่าเป็นผู้พลิกผัน Virginia Art Museum ที่กำลังเน่าถึงที่ให้กลับมาเป็นพิพิธภัณฑ์แนวหน้าของประเทศได้

ก็ได้แต่หวังว่า การมาของ Michael Brand ที่ถึงแม้จะมาจากการแนะนำของ Barry Munitz อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ไม่มากก็น้อย

องค์กรใหญ่ระดับโลก ในประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นนี้ ก็ใช่ว่าจะไม่มีการบริหารแบบไร้ประสิทธิภาพ และใช่ว่าจะไ่ม่มีการ Corruption แต่การแก้ไขนั้นทำได้ยาก ตราบใดที่คนผิดยังเป็นคนที่มีอำนาจในการจัดการและตัดสินใจอยู่ แต่อย่างน้อยประเทศ สหรัฐอเมริกาก็ยังมีระบบกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าดำเนินการต่อไปอย่างเป็นระบบก็อาจจะีมีการแทรกแซงจากรัฐเข้าไปจัดการองค์กรเองเพื่อประโยชน์ของสาธารณชนเสียเลยก็ได้ อย่างน้อยก็จัดการเรื่องกองทุุนขนาดยักษ์ ที่ทุกวันนี้มีคนไม่กี่คน คิดกันเองทำกันเองตามใจชอบอยู่

อย่างที่เห็นได้ชัดว่า คนที่เป็นคนที่มีประวัติชีวิตส่วนตัวไม่ค่อยดีอย่าง Turner แต่พูดความจริงและซื้อสัตย์ในชีวิตการทำงาน กลับถูกขับไล่ให้ออกจากองค์กร แต่กับคนที่มีประวัติชีวิตส่วนตัวดี แต่การทำงานไม่ชอบมาพากลแบบ Munitz กลับอยู่ในตำแหน่งได้อย่างยาวนาน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปโดยที่ทางกฎหมายล้มเหลวที่จะเข้ามาจัดการ ปราสาทแห่งศิลปะบนสวงสวรรค์แห่งนี้อาจจะถึงกับล่มลง เหมือนกับกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองเลยก็เป็นได้

พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน

พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน โครงการที่ควรได้รับการสนับสนุน เพื่อสร้างสรรค์สังคม

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือน ตุลาคม 2005

พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน - โครงการที่ควรได้รับการสนับสนุน เพืื่อสร้างสรรค์สังคม

ดร.พร วิรุฬห์รักษ์
virulrak@hotmail.com

เมื่อช่วงปลายเดือน กรกฏาคม 2548 ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสกลับไปเยี่ยมประเทศไทย อีกครั้ง โดยพยายามสัญญากับตัวเองว่าจะต้องมาให้ได้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากหลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก กลัวว่า้ถ้าห่างหายไปนานจะตามกระแสไม่ทัน

มุมมองของคนที่อยู่ในต่างประเทศแล้วกลับมาเมืองไทยเป็นระยะสม่ำเสมอก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะเเหมือนเป็นการเก็บภาพของช่วงเวลาหนึ่งแล้วมาเปรียบเทียบกับอีกช่วงหนึ่ง ซึ่งจะเห็นความแตกต่างอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เขียนเห็นอย่างชัดเจนว่า อะไรที่เปลี่ยนไป อะไรที่เปลี่ยนเร็วมาก อะไรที่เปลี่ยนช้า และอะไรที่ไม่เปลี่ยนเลย โดยเทียบกับคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพทุกๆวันนั้นอาจจะไ่ม่เห็นก็ได้ เพราะอยู่ใกล้เกินไปและ ไม่ีมีเวลาได้สังเกตุดู เช่นในเรื่องของ การดำเนินชีวิต เรื่องของแฟชั่น เรื่องปัญหาสังคม ฯลฯ สิ่งที่ผู้เขียนต้องทำอยู่เสมอเมื่อกลับเืมืองไทยในด้านของวิชาการนั้นมี อยู่ 2 ประการได้แก่ การเป็นวิทยากรบรรยายตามสถาบันการศึกษาหรือบริษัทต่างๆ และ การไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ของประเทศไทยเพื่อศึกษาสถาณการณ์ และในครั้งนี้ก็ได้ไปชมพิพิทธภัณฑ์แห่งหนึ่ง ซึ่งอดไม่ได้ที่จะต้องนำมาขอวิเคราะห์ให้ทุกท่านฟังในที่นี้ และโดยส่วนตัวแ้ล้วอยากถ่ายภาพมาให้ชมมากแต่ว่า กลัวว่าจะผู้อ่านบางท่านจะรับไม่ได้ ดังนั้นจึงอยากให้ผู้อ่านทั้งหลายไปชมด้วยตัวเองจะดีที่สุด

สถาณที่ตั้ง

พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน (Songkran Niyomsene Forensic Medicine Museum) นั้นตั้งอยู่บนชั้นสอง ของตึกอดุลยเดชวิกรมณ์ เป็นหนึ่งในจำนวน 6 พิพิธภัณฑ์ของโรงพยาบาลศิริราช ผู้เขียนคาดว่า จุดประสงค์ของการก่อตั้งก็เพื่อต้องการให้คนทั่วไปมีความ เข้าใจพื้นฐานของวิชานิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพิสูจน์หลักฐานทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมระบบยุติธรรมของประเทศให้ีมีประสิทธิภาพ

นิติเวชศาสตร์

คำว่า Forensic ตามความหมายดั้งเดิมนั้น เป็นคำที่มีความหมายตรงกับคำว่า legal ซึ่งทั้งสองคำนั้นเป็น adjective ขยายคำนาม โดยมีความหมายว่า เกี่ยวกับทางกฎหมาย แต่ในปัจจุบันกรอบความหมายของคำว่า Forensic นั้นเจาะลึงลงไป โดยหมายถึงการพิสูจน์หลักฐานทางอาชญากรรม มากกว่าการที่จะเป็นกฎหมายโดยรวม โดยจะนำไปใช้ขยายคำนามที่เป็น ศาสตร์ หรือ แนวทางการศึกษา เช่นคำว่า Forensic Pathology นั้นหมายถึงศาสตร์ของการศึกษาร่างกายมนุษย์ เพื่อที่จะค้นหาสาเหตุและรูปแบบการเสียชีวิต Forensic Toxicology เป็นการศึกษาเกี่ยวกับยาและพิษที่มีผลต่อร่างการมนุษย์ หรือแม้กระทั่งคำว่า Forensic Animation ก็หมายถึงภาพเคลื่อนไหวใน Computer ที่นำมาใช้ในการพิสูจน์หลักฐาน
และสำหรับ Forensic Medicine อันเป็นชื่อของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ก็เป็นการตั้งกรอบความหมายโดยรวมไปในตัวในเนื้อหาเกี่ยวกับที่ นายแพทย์นิติเวชต้องทำการปฎิบัติ เื่พื่อพิสูจน์หลักฐาน ค้นหาความจริงของอาชญากรรม และสิ่งที่นำมาแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็จะสะท้อนกรอบความคิดนี้

Collection

ในส่วนของ สิ่งที่นำมาแสดงนั้น ล้วนแต่เป็นตัวอย่างของร่างกายมนุษย์ที่ถึงแ่ก่กรรมใน กรณีต่างๆ ตั้งแต่ถูกฆาตกรรม อุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็็บต่างๆ ของจริง ทั้งสิ้น รวมทั้งอุปกรณ์ในการใช้พิสูจน์หลักฐานตั้งแต่สมัยโบราณมา บางส่วนนั้นเป็นรูปของเด็กทารกที่ตายในครรถ์มารดา ฯลฯ ส่วนที่ได้รับความสนใจมากที่สุด น่าจะเป็น ซากศพของนายซีอุย แซ่อึ้ง ที่มีคนเข้ามาชมไม่ขาดสาย และอีกสองส่วนที่โรงพยาบาลในความสำคัญมากได้แก่ การแสดงกะโหลก ที่ใช้ในการทดสอบยิงของคดีลอบปลงพระชมน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 และ หลักฐานเสื้อผ้าจากคดีนวลฉวี นอกจากนี้ยังมีโครงกระดูกของนายแพทย์ สงกรานต์ นิยมเสนเอง ที่ท่านคงยินดีบริจาคเพื่อให้เป็นวิทยาทานแก่วงการนิติเวชของไทย

ปัญหา

น่าเสียดายที่ถึงแม้จะมีการ upgrade ตัว Furniture แต่ก็ยังขาดข้อมูลอยู่มาก เพราะสิ่งทีนำมาจัดแสดงนั้นน่าสนใจมาก และทำให้คนใคร่รู้ถึงเรื่องราวเบื้องหลัง แต่ไม่มีใครรู้ว่า่มาจากไหน คดีอะไร และวิธีการเปรียบเทียบ คืออะไ้้ร อย่างที่เคยกล่าวให้ทราบในฉบับที่แล้วๆ มาว่าการเดินทางเข้าไปในพิพิทธภัณฑ์สักแห่งของคนนั้น ก็เหมือนกับการที่คนเดินผ่านเข้าไปในหนังสือเล่มหนึ่ง หรือเข้าไปดูหนังสักเรื่อง พิพิธภัณฑ์เป็นเรื่องของ Experience ไม่ใช่เรื่องของการเก็บของ

ตัวอย่างเช่นในกรณีซึอุย น่าจะขยายความว่า เขาเ็ป็นใคร เกิดเืมื่อไหร่ เข้ามาเืมืองไทยเมื่อ ไหร่และอาการทางจิตที่มีลักษณะของที่เป็น ฆาตกรต่อเนื่อง (Serial Killer) นั้นเรียกว่าอะไร และมันมีผลอย่างไรต่อการที่ทำให้เขากลายมามีพฤติกรรมของการกินเนื้อมนุษย์ด้วยกัน (Canibalism) ประเด็นคือว่า เกร็ดและเรื่องเล่าที่เป็นวิทยาศาตร์ที่สามารถเปิดทางให้เยาวชน และผู้สนใจมี “ช่อง” ที่จะให้เขาได้เดินสู่ความรู้แขนงที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นอาชญวิทยาหรือว่า จิตวิทยา หรือแม้แต่ประวัตศาสตร์ไทยในยุคนั้น มีอยู่เหลือล้น ที่จะนำมาเล่าได้ แต่ กลับมีคำบอกเล่าแค่คำเดียวว่าศพนี้คือ นายซีอุย แซ่อึ้ง จบ ซึ่งปํญหาการให้ข้อมูลที่น้อยนี้ก็เหมือนกับปัญหา ของการแสดงในส่วนคดีนวลฉวี (ใครคือ นวลฉวี) และคดีสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 (นักท่องเที่ยวต่างประเทศ จะรู้จักรัชกาลที่ 8 หรือไม่)

การจัดแสดงก็ไม่เป็นระเบียบ อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบนิติเวชเก่าๆก็มีผุ่นจับ ไม่มีคนไปดูแล ทั้งๆ ที่นี่คือโรงพยาบาล น่าจะรักษาเรื่องความสะอาดได้ดีกว่านี้

ดูแล้วนักท่องเที่ยวก็่น่าจะแปลกใจว่าไปเดิน Emporium หรือ Gaysorn นี่อย่างกับห้างในสวรรค์ แต่พอมาเป็นเรื่องของพิพิธภัณฑ์ที่ให้ความรู้ต่อสาธารณะชน ทำไมถึงได้ ทรุดโทรมอย่างรุนแรงขนาดนี้ ทั้งๆ ที่อีก 2 ห้องข้างๆ อันได้แก่ พิพิธภัณฑ์ ปรสิตวิทยา พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส และ ห้องแสดงประวัติการพัฒนาโรงพยาบาลนั้น อยู่ในสภาพที่ดีกว่ามากๆ ทั้งในด้านการจัดแสดง ข้อมูล และความสะอาด

อันดับต้นๆ ของ Search Engine

หากท่านพิมพ์คำว่า Forensic Museum เข้าไปใน Search Engine อย่าง Google สิ่งที่พบคือ ชื่อของพิิิิิพิธภํณฑ์นิติเวชศาตร์ สงกรานต์ นิยมเสนแห่งนี้จะเด้งออกมาอยู่ในหน้าแรกของการค้นหาเลยทีเดียว

เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า พิพิธภัณฑ์นิติเวชแห่งนี้ ติดอันดับอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของกรุงเทพมหานคร ได้รับการตีพิมพ์สำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ เช่น ในอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งในสื่อสิ่งพิมพฺ์และอินเตอร์เน็ต โดย ข้อความที่โพสต์ ไว้ของผู้ที่เข้าเยี่ยมชม หลายคนพูดเหมือนกันคือ ประทับใจกับสิ่งที่นำมาแสดงอย่างมาก แต่ไม่ประทับใจอย่างแรง กับวิธีการนำเสนอ และบางคนก็มีเมตตาหน่อยว่า ประเทศด้อยพัฒนา ทำได้แค่นี้ก็บุญถมแล้ว?

ศักยภาพ

เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดูจะมีอนาคตเป็นอย่างยิ่ง เพราะคนดูเยอะมาก และเรื่องราวเกี่ยวกับอาชญากรรม หรือคดีต่างๆ ที่แสดงด้านมืดของมนุษยนั้น์ คนชอบดู ชอบมากกว่าไปดูประวัติศาสตร์โรงพยาบาลหรือดูว่าพยาธิใบไม้ในตับอันตรายอย่างไรแน่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ Crime Drama ทางภาพยนต์ และโทรทัศน์ในต่างประเทศมาแรงเช่นนี้ ถ้ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวประเทศไทย ก็นับวันมีแต่จะเพิ่มจำนวนที่จะมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

สิ่งที่ผู้ที่เข้ามาชมจะได้รับนั้น

ความตื่นเต้น - เรื่องราวและสิ่งที่แสดงในที่นี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะตื่นเต้นเพราะเป็นเรื่องของอาชญากรรม เป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติ เป็นเหตุการณ์เฉพาะ อย่างเช่นในกรณีของเยาวชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษานั้น ถ้าเข้ามาในนี้ สิ่งแรกที่เดินตรงไปดูทันทีก็คือ ศพของ ซีอุย จะเป็นเพราะภาพยนต์ที่สร้างแล้วสร้างอีกเกี่ยวกับฆาตกรต่อเนื่องคนนี้หรือไม่ก็ไม่ทราบได้
รับรู้ถึงสัจธรรมของชีวิต - เกิดแก่เจ็บตาย ทั้งจากตัวเอง จากผู้อื่น ล้วนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไ่่ม่ได้ทิ้งสิ้น การดูซากศพและซากอวัยวะเหล่านี้ ทำให้คนเราได้ ปลงในหลายๆ เรื่อง
การวางใจเป็นกลาง - อุเบกขา นั้นเป็นที่สังคมไทยขาด เพราะคนไทยมี เมตตา กรุณา มุฑิตา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อมนุษย์อยู่สูงมาก แต่อุเบกขา หรือการวางใจเป็นกลางที่เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และกฎเกณฑ์ของสังคม ที่คอยควบคุมทั้งสามอย่างแรก ไม่ให้ล้ำเส้นนั้น คนไทยมีน้อย คนไทยเชื่อคนมากกว่าเชื่อหลักฐาน แต่ เทคโนโลยีและการ การวิเคราะห์หลักฐานที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนี้ทำให้ ในคดีหนึ่งๆนั้น น้ำหนักจากปากของพยานลดลง ในขณะที่น้ำหนักของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มีแนวโน้มที่จะมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนมีจิตใจเป็นกลางมากขึ้น
ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย - อาชญากรรมก็เป็นประวัติศาสตร์ในด้านหนึ่ง เหมือนกับที่เราเ่ล่าประวัติศาสตร์สมัยใหม่ผ่านทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สงคราม และือื่นๆ อาชญากรรมเองก็เป็นแนวทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่ง คดีที่มีชื่อเสียงในสมัยหนึ่งก็สะท้อนภาพสังคมของยุคนั้นได้เป็นอย่างดีในหลายๆ มุม
การพัฒนาด้านนิติเวชเพื่อสนับสนุนงานด้านยุติธรรม - แรงบันดาลใจของคนเล็กๆ หนึ่งคนนั้นคือจุดเริ่มต้นของการเดินทางของคนเล็กๆ คนนั้นไปสู่คนที่ยิ่งใหญ่ต่อไป ดังนั้นการสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนมีจิตใจรักความยุติธรรม มีการวางใจเป็นกลาง และเชื่อมั่นในแนวความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์นั้น เป็นสิ่งที่พิืพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีบทบาทได้

แนวทางการปรับปรุง

ทางด้านการจัดการ - ปัญหาที่เป็นอยู่นั้น คือเรื่องปัญหาของการที่ไม่มีเจ้าภาพที่แท้จริง ไม่มีคนที่รับหน้าที่ทำการบริหารโครงการเต็มเวลา ดังนั้นแนวทางการจัดการอันดับแรกคือการหารเจ้าภาพโดยน่าจะมี ทางเลือกอยู่สองทางคือ

ทางรัฐเข้าไปทำเอง โดยจัดให้ไปอิงกับองค์กรอื่นที่ไม่ใช่โรงพยาบาลศิริราช ต้องหาให้ผู้เขี่ยวชาญการประชาสัมพันธ์และการจัดนิทรรศการเข้าไปทำ เพราะแพทย์ภาควิชานิติเวช งานเยอะมาก ไม่มีเวลามาทำตรงนี้ และก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการสืิ่อสารกับ สาธารณะ และการจัดนิทรรศการ
ให้สัมปทานกับ เอกชนเอาไปดำเนินการเองเลย ให้เอกชนทำการประชมสัมพันธ์ และขายตั๋วเอง จัดเป็นทัวร์นักท่องเที่ยวมาก็ไ้ด้ เขียน Term Of Reference ออกมาให้ชัดเจนในเรื่องขอบข่ายการดำเนินงาน เก็บนักท่องเที่ยวกับผู้ที่สนใจแพงหน่อย ถ้าเด็ก รัฐก็ Subsidy ค่าตั๋วไป

ทางด้านการจัดแสดง

การจัดกลุ่มงานแสดง แบ่งให้ชัดเจน - จริงๆ ในปัจจุบันก็ชัดเจนพอสมควร โดยแบ่งเป็นกลุ่มอวัยวะ แต่ไม่มีป้ายบอก เลยทำให้คนไม่ทราบ
ข้อมูลเบื้องหลังคดีดัง - น่าจะนำมาขยายความเล่าเรื่องให้ได้มากกว่านี้ อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น
Animation + Audio - เป็นอุปกรณ์ที่แจกให้คนเข้าชม ลักษณะเหมือนโทรศัพท์มือถือ โดยงานแสดงแต่ละชิ้นจะมี ตัวเลขบอกไว้ เช่นโครงกระดู ซีอุย คือหมายเลข 14 ก็ กดหมายเลข 14 บนอุปกรณ์ แล้วกด play ก็จะมีเสียงบรรยายเกี่ยวกับ ว่าซีอุยคือใคร คดีเป็นอย่างไร เป็นค้น อันนี้จะทำให้คนอยู่ได้นานเป็นชั่วโมง เพราะของแต่ละชิ้นล้วนแ่ต่มีเรื่องราวยาวนานทั้งสิ้น เพราะเป็นชีวิตคน จริงๆ 1 คน และคนที่เข้ามาก็ให้ความเคารพ เห็นได้จากลูกอมที่คนเอาไปวางหน้าศพเด็กที่ตายทั้งกลม เป็นต้น ส่วนในเรื่องของ Video ก็สามารถในภาพคดีอาชญากรรม มา Remake หรือทำใหม่ก็ได้ แล้วนำไปเป็นตู้ Computer ให้คนได้กดดู หรือาจจะมีเกมประลองเชาวน์เกี่ยวกับ นิติเวชาให้เด็กเข้าไปเล่นก็ได้

Interior Space - ต้องจัดให้น่าสนใจกว่านี้ เพราะมีพิพิธภัณฑ์ของรัฐที่ทำได้ดีแล้วหลายแห่งและ ที่นี่คือ Tourist Attraction ของประเทศ ต้องทำให้ดีกว่าตู้กระจกเก็บของอย่างที่เป็นอยู่ ควรจะปรึกษาสถาปนิกและบริษัทออกแบบตกแต่งภายใน

แม้ว่า ฐานความรู้ของพิพิธภํณฑ์แห่งนี้จะเน้นไปที่นิติเวชในการวิเคราะ์ห์ศพเป็นหลัก เป็นเชิงการแพทย์ แต่ในความเป็นจริงที่เราเห็นนั้น ยังมีฐานความรู้ใหญ่ๆ ในทางนิติเวชอีกหลายแขนงเช่น ฐานความรู้เรื่องกระสุนปืน (Ballistic Analysis) ฐานความรู้เรื่องการกระจายของเลือด(ฺBlood Spatter Analysis) ลายนิ้วมือ (Fingerprint Analysis) ที่สามารถนำมาแสดงได้อีกมากมาย เพื่อให้คนได้วางใจเป็นกลาง และรักความยุติธรรมด้วยเหตุผล ไม่ใช่รักความยุติธรรมด้วยอารมณ์ แบบว่าไปตามกระทืบผู้ต้องสงสัยที่ไปทำแผนประกอบคำ
สารภาพ ทั้งๆที่เขายังไม่ได้ขึ้นศาลเลยด้วยซ้ำ

ต้นแบบห้องสมุดของศตวรรษที่ 21 (2)

ต้นแบบห้องสมุดของศตวรรษที่ ๒๑ เมื่อ "เราทุกคน" คือผู้ร่วมออกแบบ กรณีศึกษาของ Seattle Public Library (๒)

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือน กันยายน ปี 2005

ต้นแบบของห้องสมุดในศตวรรษที่ 21 (1)

ต้นแบบห้องสมุดของศตวรรษที่ ๒๑ เมื่อ "เราทุกคน" คือผู้ร่วมออกแบบ กรณีศึกษาของ Seattle Public Library (๑)

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือน สิงหาคม ปี 2005

บทวิจารณ์ของ Victoria Newhouse

บทวิจารณ์ของ Victoria Newhouse พิพิธภัณฑ์ศิลปะในอุดมคติ จำเป็นต้องให้งานศิลปะเป็นพระเอก?

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือน กรกฎาคม ปี 2005

Getty Center (1)

Getty Center: มหาศิลป์ปราสาทแห่งอเมริกาตะวันตก (1)

อภิมหาเศรษฐีกับสมบัติล้นคลัง

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม"ฉบับเดือน มิถุนายน ปี 2005

ความก้าวหน้าของพิพิธภัณฑ์ในกลุ่มประเทศ Nordic

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือน พฤษภาคม ปี 2005

บทเรียนจาก Salvador Dali Museum (2)

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือน เมษายน ปี 2005

บทเรียนจาก Salvador Dali Museum (1)

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2005

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทหารแห่งชาติ

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2005

SFMoMA ก้าวสู่ E-Museum

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือน ธันวาคม ปี 2004

สี่ปีที่ผ่านไป กับความฝันของ Art Gallery ณ สี่แยกปทุมวัน

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม"ฉบับเดือน พฤษจิกายน ปี 2004

Guggenheim, Bilbao พิพิธภัณฑ์พลิกเมือง (2)

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือน ตุลาคม ปี 2004

Guggenheim, Bilbao พิพิธภัณฑ์พลิกเมือง (1)

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนกันยายน ปี 2004

Life and Death of American Museum

การเกิดและการตายของ สุดยอดโครงการพิพิธภัณฑ์ศิลปะในสหรัฐอเมริกา ความผิดพลาดที่หลีกเลี่ยงได้

ตีพิมพ์ ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือน สิงหาคม ปี 2004

(ข้อมูลเบื้องต้นจากนิตยสาร Architectural Record ฉบับเดือน มกราคม 2004)

Wednesday, March 22, 2006

Art Gallery in the Casino

Art Gallery in the Casino : สงครามสร้างภาพพจน์ ของสุดยอดโรงแรมแห่งเมืองคนบาป

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" เมื่อเดือน มิถุนายน ปี 2004

Art Museum in Las Vegas

Art Museum in Las Vegas: พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเมืองไร้วัฒนธรรม

ตีพิมพ์ใน "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับ เดือนเมษายน ปี 2004