Sunday, February 26, 2006

คิดถึง "อีสาน" ที่ The Emporium

Isan Retrospective: คิดถึง “อีสาน” ฐานรากของสังคมไืทยใน “The Emporium”

เมื่อตอนดึกๆ ของวันอาทิตย์วันหนึ่งในเดือนธันวาคม ได้มีโอกาสไปกับเพื่อนสนิทที่เรียนมหาวิทยาลัยมาด้วยกัน เพื่อชมสถาณที่ของสำนักงานศูนย์พัฒนาการออกแบบที่ห้างเอ็มโพเรียม ถนน สุขุมวิท เมื่อพูดถึง ห้างแห่งนี้ หลายๆ ท่านก็คงจะทราบว่าเป็นห้างสรรพสินค้าที่หรูหราที่สุดในประเทศ โดยอาจจะโดนห้างสยามพารากอนแซงหน้าไปเมื่อสิ้นปี 2548 ที่ผ่านมานี้เอง

เมื่อได้เข้าไปชมศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ ก็อดมีความรู้สึกที่ผสมปนเปไปหลายๆ อย่างไม่ได้:

“หนึ่ง” ก็รู้สึกประทับใจว่า ออกแบบได้อย่างมีรสนิยม ดูน่าเข้าไปใช้สอย และสร้างได้เรียบร้อย เหนือมาตรฐานงานออกแบบหลายๆ แห่งในประเทศไทย

“สอง”รู้สึกถึงความตลกร้ายต่อตัวเอง โดยนึกไปถึงว่าถ้าประชาชนทั่วไปได้มาเห็นสถาณที่แห่งนี้ ก็คงจะรู้สึกถึงความหรูหราและเหนือธรรมดาของนักออกแบบหรือ Designer (สถาปนิก มัณฑนากร นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ฯลฯ) โดยอาจจะสะท้อนไปไกลว่า การออกแบบนั้นเป็นเรื่องของคนรวยเท่านั้น (ตั้งอยู่บนห้างเอ็มโพเีรียมด้วย) แต่คนที่รู้ความจริงจะทราบว่า อัตราเงินเดือนของผู้ประกอบวิชาชีพออกแบบนั้นน้อยมาก ถ้าจะทำเงินเป็นกอบเป็นกำต้องเปิดบริษัทเองเท่านั้น ซึ่งเป็นธุรกิจที่ค่าใช้จ่ายสูง กำไรน้อย เทียบกับธุรกิจอื่นๆ โดยมักจะถูกอธิบายว่าเป็นพวก “รสนิยมสูง รายได้ต่ำ” ซึ่งสำหรับผู้เขียนที่เป็นสถาปนิกเองก็ยอมรับว่าจริง

“สาม”ในด้านสังคมส่วนรวม ที่เป็นเรื่องเจ็บปวดอีกครั้ง โดยหากท่านเดินออกจากห้างเอ็มโพเรียมไปยังสถานี BTS แล้วต่อไปลงบันไดฝั่งตรงข้าม ก็จะได้เห็นขอทานนั่งอยู่กับลูกหน้าตามอมแมม โดยถึงแม้หลายคนจะบอกว่า ขอทานเหล่านี้ไม่ได้จน เขาแค่มาทำมาหากินตามโอกาสเท่านั้น แต่ก็คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ขอทานนั้นคือ ผลลัพธ์ของช่องว่าง หรือ gap ของชนชั้นในสังคมที่ความแตกต่างระหว่างคนรวยและคนจนสูงมาก การที่นักออกแบบไปมีสมาคมอยู่บนหอคอยงาช้างนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของการดึงให้ช่องว่างตรงนี้ให้ห่างออกไปอีก ในความเห็นของผู้เขียน

เมื่อได้ดูสภาพแวดล้อมโดยรอบศูนย์แล้ว ผู้เขียนก็กำัลังจะกลับ แต่เพื่อนของผู้เขียนก็ถามว่าเคยดูนิทรรศการหรือยัง โดยเขาได้ย้ำมากว่าต้องดูให้ได้ ข้าพเจ้าจึงได้ตัดสินใจเข้าไปดู และนั่นเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่งสำหรับวันนั้น โดยเมื่อหลังจากที่ดูเสร็จ สิ่งที่ได้้รับเพื่อนำมาฉุกคิดนั้นทำให้ข้าพเจ้ามีมุมมองที่เปลี่ยนแปลงไปกับข้อคิดสามข้อดังกล่าว

ในช่วงที่เขียนบทความชิ้นนี้ นิทรรศการก็ได้ปิดตัวลงไปแล้ว แต่ผู้เขียนก็อยากจะขอลงลายละเีอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะอยากให้ผู้อ่านทุกๆท่านได้เกิดภูมิใจกับฝีมือการจัดนิทรรศการของคนไทย ที่สะท้อนวัฒนธรรมของกลุ่มคนที่ไม่มีใครสนใจได้อย่างน่าประทับใจเ็ป็นอย่างยิ่ง

พอพูดถึงภาคอีสานแล้ว ท่านผู้อ่านคิดถึงอะไรบ้าง ถ้าท่านเป็นคนกรุงเทพหรือเป็นคนที่ไม่ได้มาจากอีสาน อาจจะิคิดไปถึงเพลงคาราบาวว่า “อีสานแห่งแล้งกันดาร นับหลายๆปี” บางคนอาจจะนึกไปถึงกลุ่มแรงงานหลักที่เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หรือบางคนอาจจะดูถูกด้วยซ้ำว่าเป็นคนที่ยากจนหรือาจจะมีการศึกษาน้อย นั่นก็เป็นมุมมองของแต่ละึคนไป

แต่หลายๆคนก็ต้องยอมรับว่า ชาวอีสานมีบุคลิกลักษณะและวัฒนธรรมของคนเองที่ไม่เหมือนภาคอื่นๆ เช่นนิสัยรักความสนุกสนานหรือถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็ต้องนับว่าเป็น Party People โดยจะสะท้อนไปใน การร้องรำทำเพลงที่เพลงของภาคอีสานจะสนุกและเร็วกว่าเพลงภาคอื่น นิสัยอดทนก็ไม่เป็นรองใครเนื่องจากมาจากพื้นที่กันดารต้องใช้ความลำบากยากเย็นกว่าคนในภาคอื่นในการดำรงชีพ และยังมีภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์อีกด้วย

นิทรรศการ “Isan Retrospective” ที่จัดที่ห้างเอ็มโพเรียมนี้เป็นการตีความวัฒนธรรมอีสานเป็นส่วนๆ โดยคณะผู้จัดจะนำเอาตัวแทนที่อาจจะเป็นตัวบุคคล อาหาร สถาปัตยกรรม ฯลฯของเอกลักษณ์พิเศษส่วนนั้นๆ ออกมาเป็นตัวนำเสนอเนื้อหา ซึ่งในแต่ละส่วนจะมีวิธีการและปรัชญาในการนำเสนอแตกต่างกันไป บางจุดจะดิบมาก โดยนำวัตถุมาวางไว้ แล้วใช้แสงตบตรงๆ ไม่มีอย่างอื่น แต่บางจุดต้องไปทำ Animation มาเป็นอาทิตย์เพื่อเสนอเนื้อหา

ถ้าหากจะให้บรรยายว่ามีองค์ประกอบอะไร แสดงอะไรบ้างก็คงจะใช้เวลานานมาก ดังนั้นจึงอยากจะขอจับประเด็นหลักๆ ที่น่าสนจที่สุดได้แก่ ประเด็น “วิธีการนำเสนอ” ซึ่งไม่เหมือนนิทรรศการทั่วๆไปในประเทศไทย และ ตัวอยากองค์ประกอบที่เด่นมากๆ สัก 5 ตัวอย่าง

วิธีการนำเสนอ

วิธีการนำเสนอทั่วๆไปที่เราจะพบเห็นได้ คือการนำของไปวาง แล้วให้คนเข้าไปดู แล้วมีคำบรรยายประกอบ ซึ่งทำให้คนที่เข้ามาดูเกิดการ “รับทราบ” ข้อมูล ว่านี่คืออะไร มีประวัติอะไร แต่วิธีการนำเสนอของ Isan Retrospective จะเป็นการสร้าง “ประสบการณ์” ให้กับผู้ที่เข้าชม โดยที่ไ่ม่ได้เป็นแค่การที่จะเข้าไปอ่านคำบรรยายเพื่อให้ลองใช้จิตนาการส่วนบุคคลนึำกเอาเอง แต่เป็นการสร้างบรรยาการที่แท้จริงออกมาให้ได้รับรู้กันทันที โดยการสร้างบรรยากาศนี้เป็นสิ่งที่ยากและซับซ้อน เพราะต้องอาศัย สื่อ หลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการ(1) สร้างสภาพแวดล้อม หรือในกรณีนี้คือ ห้อง ที่ต้องล้อมผู้มาเข้าชมเอาไว้ (2) ต้องมีการให้แสงตามความเหมาะสมของการนำเสนอ (3)การให้เสียงที่เป็นบรรยากาศ และ (4) การใช้เทคโนโลยีอื่นๆ เช่นภาพเคลื่อนไหว ต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยสื่อทั้งหมดจะ้ต้องมีการเชื่อมโยงให้เป็นการนำเสนอพร้อมกัน (simultaneously) ให้เกิดการรับรู้ที่สมบูรณ์

(Diagram ที่ 1 การจัดนิทรรศการแบบทั่วไป เส้นประ คือเส้นของข้อมูล เส้นต่อสีดำ คือเส้นทิศทางการเดิน คนต้องเดินไปที่ข้อมูลเพื่อที่จะรับข้อมูล)

(Diagram ที่ 2 การจัดนิทรรศการของ Isan Retrospective จะเป็นการที่ข้อมูลวิ่งเข้าทุกด้าน เป็นรูปแบบของ “ประสบการณ์” หรือ Experience”)

จากรูปที่ 1 และ 2 จะเห็นได้ว่าแนวทางการทำความเข้าใจกับเนื้อหาในนิทรรศการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการถาวร หรือชั่วคราวใน พิิพิฺธภัณฑ์หรือในห้างใดๆ ก็ตาม จะเกิดการรับรู้ข้อมูลและความพึงพอใจที่แตกต่างกัน โดยในกรณีของ รูปที่ 1 ซึ่งเป็นการจัดนิทรรศการแบบทั่วๆ ไปนั้น จะเป็นการสร้างพื้นที่ให้คนที่เข้าชม ค่อยๆ เิดินไปตามทาง แล้วหยุดดูชิ้นงานที่น่าสนใจ โดยจะเป็นการรับรู้ข้อมูลที่ต้องมีการเลือก โดยถ้าชิ้นงานนั้นไม่น่าสนใจก็อาจจะเดินผ่านไปเลยโดยไม่ได้ดูคำบรรยายซึ่งอาจจะทำให้พลาดเนื้อหาที่สำคัญไปก็ได้ แต่ในกรณีของ Isan Retrospective ในรูปที่สองนั้น จะเป็นการ เดิน “เข้าไปในเนื้อหา” โดยที่ข้อมูลทั้งหมดที่เป็นข้อมูลหลักจะถูกผลักให้ผู้เข้าชมได้รับรู้ในทันที โดยเป็นการรับรู้จากหลายทิศทาง เป็นการรับรู้ในเชิงประสบการณ์ (experience) และผู้ชมก็ยังมีทางเลือกว่าจะดูส่วนย่อยๆ ที่แฝงอยู่ในนั้นหรือไม่ ซึ่งแตกต่างกันมากกับแบบที่หนึ่ง เพราะในแบบที่หนึ่งนั้น ผู้ชมไม่มีโอกาสได้สัมผัส “บรรยากาศ” ของข้อมูลโดยรวม และก็ยากที่จะเกิดความเข้าใจในทันที ไม่เหมือนกับแบบที่สอง

แน่นอนว่าการนำของไปวางและเีขียนบรรยายก็ยังมีอยู่บ้างแต่ไม่ใช่การนำเสนอหลัก เป็นการนำเสนอในส่วนย่อยๆ ของแต่ละ “ห้อง” ของนิทรรศการแห่งนี้เท่านั้น

มาลองดู “ห้อง” ที่น่าสนใจเหล่านี้ว่ามีอะไรกันบ้าง

“ห้องใบหน้าชาวอีสานบนพื้น” - เป็นห้องแรกของระบบนิทรรศการทั้งหมด โดยเป็นบรรยากาศที่มืด ทั้งหมด ยกเว้นแต่พื้นที่มีแสง และมีเสียง background เป็นคำพูดต่างๆ ที่ชาวอีสานใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งจากหญิงและชาย บนพื้นคือใบหน้าอันยิ้มแย้มของชาวอีสานต่างเพศต่างวัย โดยที่ผู้เข้าชม ไม่ีมีทางเดินทางอื่นๆ นอกจากจะต้อง เหยียบลงไปบนใบหน้าเหล่านี้ เพื่อที่จะไปสู่ห้องอื่น สำหรับผู้เขียนแล้ว ห้องนี้เป็นห้องที่มีความหมายแผงดีที่สุด ใบหน้าที่ยิ้มแย้มภายใต้ผ่าเท้าของผู้ที่เข้าไปชมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่สื่อความหมายให้เห็นถึงความเป็น ”ฐานราก” ของสังคมไทย ที่อยู่ใต้เท้าของทุกๆ คนมานานแ้ล้ว เป็นคนที่อยู่หลังฉาก ปิดทองหลังพระมานานแล้ว แ่ต่เรามองไม่เห็นกัน โดยผู้จัดนิทรรศการทำให้ผู้ชมได้เห็นความเป็นจริงอันนี้อย่างชัดเจนที่สุด

“ส้มตำ” – ส้มตำเป็นอาหารอีสานที่คนทั่วโลกรู้จัก โดยผู้จัดนิทรรศการได้แสดงความเป็นเนื้อแท้ของส้มตำ ที่มีมูลค่าแตกต่างกันอย่างมหาศาลเมื่ออยู่่ในที่ๆ แตกต่างกัน สื่อที่ใช้คือใช้ จอทีวี โดยเริ่มจากส้มตำที่คนทำกินกันเองในนา ไปจนถึงส้มตำที่ทำราคาถูกๆ ตามปั๊ม จนถึงส้มตำราคาจานละเป็นหลายร้อยบาทในร้านอาหารที่ประเทศที่ฝรั่งเศส วิธีการนำเสนอ slide บนจอทีวีก็จะเป็นส้มตำที่หน้าตามเหมือนเดิม อยู่กลางจอ แต่สภาพแวดล้อมรอบๆ ส้มตำจะค่อยๆ เปลี่ยนไป จากแดดและดินแตกระแหง มีจานสังกะสีบนกระดาษหนังสือพิมพ์กลางนา ไปจนถึงโต๊ะสังกะสีหน้าปั้ม ไปจนถึงผ้าปูโต๊ะอย่างหรู มีแก้วเจียระไนและช้อมส้อมเงินด้านข้างในร้านอาหารฝรั่งเศส “แต่ส้้มตำก็คือส้มตำจานเดิม” ผู้เขียนเองคิดว่าผู้จัดต้องการนำเสนอในเรื่องของ “มูลค่า” ที่เป็นไปได้ของผลผลิตจากชาวอีสาน ที่เราเห็นว่าเป็นสิ่งพื้นๆ ในสายตาคนไทย แต่อาจจะมีมูลค่าที่มหาศาลจนต้องตกใจในเวทีโลก เพียงแ่ต่เราต้องหาวิธีนำออกมาใ้ช้ให้ได้เท่านั้น

“แรงงานอีสาน” - ชาวอีสานเป็นกลุ่มประชากรที่มีการอพยพไปทำงานในภูมิภาคต่างๆ และต่างแดนมากกว่ากลุ่มใดๆ ในประเทศ โดยในนิทรรศการแห่งนี้ มีมุมต่างๆ หลายมุมที่แสดงเกี่ยวกับประเด็นแรงงานนี้ แต่ว่ามุมที่น่าสนใจที่สุดมีอยู่สองมุม ได้แก่

1. Double Chef - ในจำนวนแรงงานที่อพยพจากท้องถิ่นมาทำงานในเมืองดังกล่าวนั้น มีจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร หรือทำงานในร้านอาหาร และก็ีมีหลายๆ คนที่ทำงานจากคนล้างจาน ค่อยๆ ไต่เต้า ศึกษาหาความรู้ไปจนได้เป็นพ่อครัวมือหนึ่งของร้าน และไม่ใ่ช่เพียงร้านอาหารไทยเสียด้วย ผู้จัดนิทรรศการได้ใช้ จอทีวี ซึ่งแบ่งเป็น Video clip สองชิ้น ฉายติดกัน โดยเป็นรูปของการทำอาหารทั้งสองจอ จอหนึ่งเป็นการทำอาหารอีสาน ในบ้านท้องถิ่น เห็นได้จากโต๊ะไม่และอุปกรณ์จานสังกะสีเรียบๆ ง่ายๆ อีกจอหนึ่งเป็นการทำซูชิ โดยใช้เขียงที่มีลายไม่สวยงาม มีดอย่างดี โดยไม่เห็นว่าคนที่ทำเป็นใคร ถ่ายแต่อาหารเท่านั้น ทั้งสองจอมีการตัดต่ออย่างรวดเ็ร็ว และอาหารทั้งสองก็น่ารับประทานมาก โดยเมื่อดูไปเรื่อยๆ จนจบแล้ว จะีมีการถ่ายขึ้นไปจนถึงหน้าคนทำ ก็คือคนๆ เดียวกัน แ่ต่อยู่คนละที่ ใส่ชุดคนละอย่างเท่านั้น นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถจากการฝึกหัดที่มาจากความอดทนของชาวอีสานจนประสบความสำเร็จ และการที่รักษาเอกลักษณ์ของตัวเองอย่างเหนียวแน่นในขณะเดียวกัน

2. Animation – เป็นจอที่เป็นการ์ตูนอนิเมชั่น เป็นลักษณะของ Isometric หรือการแสดงเป็นรูป สามมิติทางระนาบ ที่มีการขยายไปได้เรื่อยๆ ในทางราบ เป็นการแสดงชีวิตทั่วไปในเมืองหลวง คนเดินถนน คนเสริฟ ตำรวจ บุรุษพยาบาล พนังงานห้างร้านต่างๆ โดยจะป้ายจังหวัดอยู่บนศีรษะของคนพวกนี้ ซึ่งในชีวิตของเรา เราจะไม่มีทางได้เห็น ว่าคนอีสานนั้นอยู่มากมายรอบๆ ตัวเรา มากอย่างที่เราคาดไม่ถึง

“ฉิ่งฉับทัวร์” – เป็นห้องที่ผู้เขียนชอบมากที่สุด หลายๆ ท่านก็คงจะทราบว่าคนไทยทั่วประเทศมีวัฒนธรรมในการเดินทางไปทอดผ้าป่า หรือทอดกฐิน โดยถ้าเป็นคนไทยอยู่ในหมู่บ้านก็จะไปในท้องถิ่นตัวเอง แต่คนที่เข้ามาอยู่ในเมือง ก็จะมีการรวมตัวกันของคน “บ้านเดียวกัน” เพื่อเดินทางไปทอดกฐินในท้องถิ่น หรืออาจจะมีการเดินทางจากท้องถิ่นไปทอดกฐินในต่างเมืองในวัดที่มีชื่อเสียงก็ได้ โดยการเดินทางนั้นจะเป็นการเดินทางที่สนุกสนาน มีการร้องรำทำเพลง ไปตลอดทาง โดยการเดินทางนั้นก็มักจะเป็นการเหมาบัสไปกลายเป็น คณะทัวร์ไป ซึ่งผู้จัดได้มีการนำรถบัสขนาดเล็กจริงๆ มา มีการทำสภาพภายใน ตกแต่งด้วยต้นไม้เิงินทองที่จะนำไปที่วัด มีเพลงที่เป็นเพลงร้อง มีเสียงร้องของคนในรถ มีฉาบ กลอง ต่างๆ ไปตลอดทาง เืมื่อผู้เข้าชมนิทรรศการได้เ้ข้าไปนั่ง จะสัมผัสได้ทันทีถึงความสุขสนุกสนานของผู้เดินทาง

Spa – ธุรกิจสปาเ็ป็นธุรกิจที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วมากในประเทศไทย แรงงานที่อยู่ในธุรกิจนี้ที่เป็นชาวอีสานก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งที่แสดงถึงความสามารถของผู้จัดเป็นอย่างยิ่ง คือ วิธีการนำเสนอ ห้องที่แสดงเรื่องแรงงานสปานี้ เป็นห้องที่มีการจัดเตียงไว้ตรงกลาง มีการผ่าห้อง ผ่านกลางเตียงเป็นสองส่วน หนึ่งคือส่วนของสปา เป็นห้องที่มีความหรูหรา มีพื้นเป็นพรม เตียงมีผ้าและดอกไม้อย่างสบาย อีกครึ่งหนึ่ง เป็นห้องที่ีมีฝาไม้ พื้นไม้ และ เตียงที่เ็ป็นครึ่งหนึ่งของเตียงสปาแ่ต่เป็นเตียงไม้เก่าๆ มีหมอนที่เป็นหมอนผ้า เป็นการแสดงให้เห็นว่า คนที่ทำงานเป็นแรงงานในสถาณที่ๆ หรูหราเช่นนี้ แต่ความเป็นอยู่ที่แท้จริงของเขากลับแ้ร้นแค้น นำภาพของที่ทำงานและที่บ้านมาชนกันให้เห็นๆ กันไปเลยว่าต่างกันราวฟ้ากับดินขนาดไหน ซึ่งเป็นอีกครั้งที่ผู้จัดทำให้ผู้เข้าชมได้ “ฉุกคิด” ถึงประเด็นทางสังคมนี้

หางเครื่อง – เป็นอาชีพอีกอาชีพหนึ่งที่มีคนอีสานเป็นแรงงานเป็นจำนวนมาก โดยผู้เข้าชมจะได้เห็นภาพของ ห้องแต่งหน้า ของหางเครื่อง ที่เป็นบรรยากาศของการซุบซิบ การพูดคุย มีหนังสือนิยายรักแบบชาวบ้าน มีรูปของดาราหล่อๆ เป็นการแสดงให้เห็นถึงชีวิตที่มีความซับซ้อนทางอารมณ์ โดยมีความสุขแบบฉาบฉวยเพื่อให้ลืมความยากลำบาก โดยผ่านทางความฝันในนิยายรัก และความหวังในรักแท้กับผู้ชายสักคนที่หล่อๆและจิตใจดีเหมือนพระเอกในละครทีวี ซึ่งเป็นคราบน้ำตาหน้าบนโต๊ะเครื่องแป้งหลังจากรอยยิ้มหน้าเวทีของคนบันเทิงเหล่านี้ ซึ่งผู้เข้าชมจะเข้าใจถึงความรู้สึกที่ซับซ้อนเหล่านี้แทบจะทันทีที่ได้เห็น

นอกจากการจัดที่น่าสนใจที่ได้กล่าวมาแล้ว สิ่งที่น่าสังเกตุเป็นพิเศษคือการใช้วลีปรัชญาระดับโลก มาช่วยในการสื่อความหมายตามมุมต่าง การนำวลีเหล่านี้มาใช้ ไม่ได้เป็นเหมือนการยกระดับวัฒนธรรมอีสานให้เข้ามาเป็นสากลแต่อย่าง แต่เป็นการแสดงเนื้อแท้ในสิ่งที่เขาเป็นอยู่แล้วให้เราที่เป็นผู้ชมเห็นชัดมากขึ้นเท่านั้น อย่าลืมว่า มีแ่ต่คนไทยด้วยกันที่ดูถูกคนอีสาน คนต่างชาติที่รักเมืองไทยนั้นส่วนใหญ่ก็รักวัฒนธรรมอีสานทั้งนั้น เพราะความสนุกสนานและความจริงใจของคนจากที่ราบสูง

ใครที่ไปชมนิทรรศการแห่งนี้้ถ้าเป็นคนอีสานก็จะต้องภาคภูมิใจกับความเป็นชาวอีสาน ถ้าเป็นคนไทยที่ไม่ได้เป็นคนอีสานก็จะต้องทึ่งกับความเป็นชาวอีสานต้องทิ้งความคิดเก่าๆเกี่ยวกับชาวอีสานไป และถ้าเป็นคนต่างประเทศก็จะต้องทึ่งในความเป็นไทยอย่างแน่นอน
ดังนั้นสุดท้ายนี้ต้องขอยกย่องชื่นชมผู้ที่ทำการออกแบบและจัดทำนิทรรศการแห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง (พยายามหาใน Brochure แล้วไม่มีชื่อ) และขอให้มีกำลังใจและกำลังทรัพย์ในการทำงานที่มีประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติเช่นนี้ต่อๆ ไป

No comments: